รับทําเว็บไซต์ รับทําseo
บทความที่น่าสนใจ

บทความ ที่น่าสนใจ

80/20 กฎแห่งความสำเร็จ ของพาเรโต

    "หลักการพาเรโต" ตั้งขึ้นในปี 1895 ตามชื่อผู้สร้างกฎ  " วิลเฟรโด พาเรโต " ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน กฎดังกล่าวอธิบายถึงสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือ ที่เรียกกันว่า กฎ 80/20 ของพาเรโตนั่นเอง

    1.ความหมายของกฎ 80/20
    สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 % ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 % เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุล ที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน และในระดับมหาภาค เช่น

    .... ข้อผิดพลาดในการผลิต หรือของมีตำหนิผิดพลาดจากการผลิต 20 % นั้น เป็นปัญหา 80% ของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด เสื้อผ้าทั้งหมดของเรา จะมีตัวเก่งที่เราสวมใส่ประจำอยู่เพียงไม่กี่ตัวหรือเพียง 20 % เท่านั้นเอง 

    หากคุณครูให้จับกลุ่มกันทำรายงานจำนวน 10 คน จะมีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่เป็นแกนนำในการทำการบ้านเกือบทั้งหมด ที่เหลือจะช่วยกันทำเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

    หากเราจะอ่านหนังสือสอบ จะมีเนื้อหาเพียง 20 % ในเล่มเท่านั้นที่ออกข้อสอบ แต่ประเด็นสำคัญคือ เนื้อหาส่วนนี้อยู่ที่ไหนของเนื้อหาทั้งหมดภายในเล่ม

    คนทำงานที่เจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็น 20 % ของคนทั้งหมด จะมีลักษณะจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ไปสู่จุดมุ่งหมายหลักของชีวิต ทำในสิ่งที่ต้องการทำหรือทำให้รู้สึกดี อาจจะทำในสิ่งที่ไม่ต้องการบ้าง แต่ทำเพราะว่ามันเป็นหนทางไปสู่เป้าหมายภาพรวมที่หวังไว้ สามารถหาคนทำ

    ในสิ่งที่ไม่อยากทำหรือไม่ถนัดที่จะทำได้ และสุดท้ายคือ มีความสุขที่ได้ทำ  ส่วน 80 % ที่เหลือ จะทำงานอยู่กับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ทำ แต่ตัวเองไม่ได้มีส่วนลงทุนอะไรตรงนั้นทำงานในงานที่ต้องการอย่างเร่งด่วนบ่อยๆ ใช้เวลาไปกับงานที่ไม่ถนัดเสียมาก การทำงานใช้เวลามากกว่าที่คิด และรวมไปถึงการที่พบว่า ตัวเองบ่นเรื่องงานอยู่ตลอดเวลา

    สังเกตหรือไม่ว่าในร้าน 7-11 มีสินค้าเป็นจำนวนมากหลายพันรายการ รายได้กว่า 80 %มาจากรายการสินค้าเพียง 20 % จากรายการสินค้าทั้งหมดที่วางขายอยู่ในร้าน คงสงสัยว่าทำไม  ไม่ขายเฉพาะสินค้าที่ขายดีเท่านั้น คำตอบก็คือ ร้านค้าจำเป็นที่จะต้องมีสินค้าที่หลากหลายเพราะว่าผู้บริโภคนั้นมีความต้องการที่มีความแตกต่างกันนั่นเอง

    2.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    หากเราพบว่า สิ่งไหนให้ประโยชน์สูง ก็ควรเน้นส่งเสริมสิ่งนั้น หรือในทางตรงกันข้ามกันให้เพิ่มประสิทธิผล ของสิ่งจำนวนมากที่เหลือให้ขยายรากฐานกว้างขึ้น เช่นการมุ่งเน้นส่งเสริมเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง

    3.การนำกฎ 80/20ไปใช้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
    คนรวยจำนวน 20 %ของคนทั้งประเทศและมีทรัพย์สินหรือก่อให้เกิด GDP รวมกันคิดเป็น 80 % ของทรัพย์สินหรือรายได้มวลรวมประชาชาติของคนทั้งประเทศ

    ....แต่ ถ้าเรายึดหลักเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว(ไม่มีคุณธรรม,จริยธรรม) ไปให้ความสำคัญและสนับสนุนธุรกิจของคนรวยเพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ จะออกมาเป็นตัวอย่างและบทเรียนอย่างที่เราเคยเห็นในวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ความเสียหายมากกว่า 80 % จึงมีสาเหตุมาจากสาเหตุจากกลุ่ม 20 % เท่านั้น

    รายได้ส่วนใหญ่ 80 %มาจากลูกค้าประจำ และอีก 20 % มาจากลูกค้าใหม่ ซึ่งเราจะให้ความสนใจกับลูกค้าเก่า หรือลูกค้าใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้นเราต้องรักษาลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าใหม่กลายเป็นลูกค้าประจำให้ได้

    ลูกค้าเพียง 20 %จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 80 % ของรายได้รวมทั้งหมด 80 %ของยอดขายมาจาก 20 %ของพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพ หรือในทางกลับกัน พนักงาน 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัทได้เพียง 20 %

    4.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารชีวิตและเวลา
    หากทำบัญชีรายจ่ายส่วนตัวของเรา จะพบว่ารายจ่ายส่วนใหญ่ 80 % จะอยู่ในกลุ่มรายการข้อรายจ่ายเพียง 20 % ของรายการทั้งหมด กลุ่มรายการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการที่รับประทานไม่ได้ หากรับประทานไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์,บุหรี่,ค่ามือถือคุยไร้สาระ ค่าเสื้อผ้า คนส่วนใหญ่หลงคิดไปว่าใช้เงินสำหรับซื้อความสุข

    ซึ่งความสุขที่ได้ซื้อมานั้น จะสุขแบบชั่วครั้งชั่วคราว สุกๆดิบๆ ไม่สุขจริง และเมื่อหมดสุข ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อหาความสุขใหม่เปรียบได้กับการเป็นทาสของกิเลสตัณหา มีความสุขจอมปลอมเป็นสารเสพติด บังคับให้ผู้เสพต้องดิ้นรนไขว่คว้าเงินตราไปซื้อหาอย่างไม่สิ้นสุดดังนั้นหากควบคุมรายการรายจ่ายจำนวน 20 % นี้ได้ ด้วยการชนะใจตนเองจะทำให้ลดรายจ่ายส่วนมากที่มีปริมาณถึง 80 %

    เราควรให้ความสำคัญของการใช้เวลาในการทำงานประจำวันของเราว่า เวลา 80 %ที่คุณใช้ไป ให้คุณค่าหรือผลงาน 20 %ที่มีคุณภาพที่สุดออกมาหรือยัง

    งานแต่ละอย่างอาจใช้เวลาเท่ากันในการทำให้สำเร็จ แต่จะมีอยู่ 1 - 2 งาน เท่านั้น ที่จะให้คุณค่ามากเป็น 5 เท่า หรือ 10 เท่าของงานอื่น หากคุณเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งในงาน 1-2 ชิ้นนั้น คุณก็จะกลายเป็นคนที่ยุ่งตลอดวัน โดยทำงานได้สำเร็จน้อยมาก คุณกำลังทำงานที่มีคุณค่าต่ำ และผัดวันประกันพรุ่งในงานสำคัญอยู่หรือเปล่า ใช่แล้ว.....งานสำคัญของคุณคือ การสะสมทรัพย์ภายใน หาใช่ทรัพย์ภายนอกไม่

    5.กฎ 80/20 เศรษฐจริยธรรม
    ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจว่า ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ทรัพย์สินเงินทองทั้งหลาย ตายไปก็เอาไปไม่ได้ แต่เรากลับใช้เวลาทั้งชีวิตของเรามากกว่า 80 %ไปทุ่มเทให้กับสมบัตินอกตัว โลภในสิ่งที่ว่างเปล่า และวัตถุนิยมเข้าครอบงำจิตใจ สังคมเราบ้านเมืองเราจึงเข้าขั้นวิกฤติอย่างที่เห็น

    5.1 หลักการของเศรษฐจริยธรรม

    80 % ของกำไรทั้งหมด จะถูกนำไปใช้เพื่อสังคมและส่วนรวม 20 % ของกำไรที่เหลือจึงค่อยเป็นรางวัลให้กับตนเอง 80 % จะแบ่งเป็น 40+40 40 แรก เพื่อการลงทุนเพิ่มในกิจการหรือธุรกิจ 40 ที่เหลือ หากเป็นธุรกิจ SME 15 % จะเป็นภาษีที่ต้องจ่าย ที่เหลืออีก 25 % จะเป็นเงินบริจาคเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์ 80 = 40+(25+15) [ลงทุนในกิจการ+(ตอบแทนสังคม+เสียภาษี)] 20 = ส่วนตัว (เข้ากับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง) ส่วนของ 40 % ที่เป็นการลงทุนในกิจการหรือองค์กร เปรียบเสมือนการทำเพื่อสังคมและส่วนรวมทางอ้อมอย่างหนึ่ง

    หากภายใน 1เดือน ธุรกิจของเรามีกำไร 1 แสนบาท เราก็จะได้ใช้เพื่อส่วนตัว 2 หมื่นบาท และเพื่อการลงทุนเพิ่ม หรือปรับปรุงพัฒนากิจการ 4หมื่นบาท ส่วน 4 หมื่นบาทที่เหลือ จะเป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย และตอบแทนกลับคืนสู่สังคม

    5.2 การประยุกต์ใช้เศรษฐจริยธรรม กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    เศรษฐกิจพอเพียง คือการนำหลักธรรมะข้อ เดินสายกลาง มาประยุกต์ใช้กับชีวิต พอเพียง พอดี คือหลักธรรมข้อ เดินสายกลาง เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วด้วยปัญญา ผสมผสาน พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตน ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ เป็นการพัฒนาแล้วที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

    หากทุกธุรกิจใช้กฎ 80/20 แม้จำนวนเพียงไม่ถึง 20 % ต่างมีจิตสำนึกที่จะใช้หลักเศรษฐจริยธรรมนี้ ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดดมากกว่า 80 % แน่นอน ชาติไทย จะกลายเป็นประเทศที่มี GHP(Gross Happiness Product)และ GNP(Gross National Happiness) ความสุขมวลรวมประชาชาติสูงที่สุด และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งด้านจิตใจและวัตถุที่แท้จริง

    6.ตัวอย่างของเศรษฐจริยธรรม
    คนที่รวยที่สุดในโลกอย่างบิลเกต Bill Gate แห่งไมโครซอฟท์ นอกจากเงินทุกเหรียญจะได้มาอย่างบริสุทธิ์ และเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ในแต่ละปีเขายังบริจาคช่วยสังคม อย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดยังประกาศว่าจะเพิ่มเงินบริจาคผ่านมูลนิธิตัวเองจากเดิมปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 900 ล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 เท่าตัว

    ที่สำคัญ เขายังออกมาประกาศไว้ว่า หากเขาเสียชีวิต ทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของเขา จะถูกนำไปบริจาค เพื่อมูลนิธิและการกุศล เหลือเงินเพียงนิดหน่อยพอสมฐานะเท่านั้นที่ให้กับทายาท นี่คือเศรษฐจริยธรรมที่แท้จริง....

    แนวคิดในเรื่องของ 80/20 นั้น ดูเหมือนจะเป็นหลักสากลที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากแต่ก็ยังเจอที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข 80 และ 20 ที่พอนำมาตั้งเป็นกฎแล้ว มักจะไปยึดติดกับตัวเลขสองตัวเลขนี้ ทำให้ในสถานการณ์ต่างๆ พยายามหาเจ้าตัว 80 % และะ 20 % ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสถานการณ์ต่างๆ

    ตัวเลขไม่จำเป็นต้องเป็น 80 และ 20 ก็ได้ เช่น 80 % ของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจาก10 % ของความพยายาม (ซึ่งก็จะกลายเป็นกฎ 80/10 ไป) หรืออาจจะเป็น 90/10 ก็ได้ ดังนั้น เวลานำกฎนี้ไปใช้ ไม่ต้องการให้ไปยึดติดที่ตัวเลขทั้งสองตัว และไม่จำเป็นที่จะต้องรวมกันแล้วเท่ากับร้อย เพียงแต่กฎนี้เป็นแนวทางหรือกรอบให้คิดได้มากกว่า

    20 สิ่งที่ทำให้เวลาสูญเปล่า
    1. บริหารงานตามวิกฤต

    2. การโทรศัพท์

    3. วางแผนน้อยเกินไป

    4. ไม่จัดระเบียบเรื่องส่วนตัว

    5. หน้าที่ซ้ำซ้อน

    6. ไม่กล้าพูดคำว่า “ ไม่ ”

    7. การประชุม

    8. ผลจากงานที่ยังไม่สำเร็จ

    9. การเข้าสังคม

    10. การสื่อสารที่ไม่ดี

    11. ใช้ความพยายามมากเกินไป

    12. มีผู้มาพบโดยไม่ได้นัดหมาย

    13. มอบหมายงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

    14. ขาดวินัย

    15. ผัดวันประกันพรุ่ง

    16. งานเอกสาร

    17. ทรัพยากรไม่เพียงพอ

    18. สับสนในความรับผิดชอบ

    19. ขาดการควบคุม

    20. ข้อมูลไม่สมบูรณ์ 

บทความที่น่าสนใจ

บทความ ล่าสุด

บทความ ความรู้ด้านไอที, คอมพิวเตอร์ Techonlogy, Gadget, ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กับทาง SoftMelt.com